ประวัติดองดึง

ดองดึง


ดองดึง
ชื่อสามัญ Climbing Lily,Turk’s cap,Superb Lily, Flame lily, Gloriosa lily
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gloriosa superba L. จัดอยู่ในวงศ์ดองดึง (COLCHICACEAE)
สมุนไพรดองดึง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เช่น ก้ามปู (ชัยนาท), หมอยหีย่า (อุดรธานี), พันมหา (นครราชสีมา), คมขวาน หัวขวาน บ้องขวาน (ชลบุรี),
ดาวดึงส์ ว่านก้ามปู (ภาคกลาง), มะขาโก้ง (ภาคเหนือ), ดาวดึง หัวขวาน หัวฟาน พันมหา (ภาคอีสาน) เป็นต้น โดยมีการสันนิษฐานว่าชื่อของดองดึงมาจากภาษาเขมร
ซึ่งชาวเขมรจะเรียกว่าต้น “ฎงฎึง” และเราก็ได้เรียกตามกันมานั่นเองดองดึง เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาเขตร้อนและมีอยู่ทั่วไปในแถบเอเชียเขตร้อนรวมไปถึงบ้านเราด้วย
ซึ่งพืชชนิดนี้ขึ้นตามที่โล่ง ชายป่า และดินปนทราย หรือดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ โดยปกติแล้วจะนิยมปลูกไว้เพื่อเป็นไม้ประดับ แต่ก็มีนำมาทำเป็นยาสมุนไพรเช่นกัน
โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรก็ได้แก่ ส่วนหัว แป้งที่ได้จากหัว เมล็ด และรากลักษณะของดองดึง ดองดึงจัดเป็นไม้เถาล้มลุกมีความยาวได้ถึง 5 เมตร มีอายุหลายปี
มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดินทรงกระบอกโค้ง มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับหรือเรียงเป็นวงรอบข้อ 1-3 ใบ ใบคล้ายรูปหอกยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลมงอเป็นมือเกาะไม่มีก้าน
ส่วนลักษณะของผลดองดึงจะเป็นรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร แตกตามรอยประสาน มีเมล็ดกลม ๆสีแดงส้มจำนวนมาก
ลักษณะของดอกดองดึง
จะเป็นดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ ดอกด้านบนมีสีแดง ด้านล่างมีสีเหลือง (หรือจะเป็นสีเหลืองซีดอมเขียว หรือเป็นสีแดงทั้งดอกก็ได้) ดอกใหญ่ยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร
ก้านดอกยาวประมาณ 5 เซนติเมตร มีเกศรตัวผู้ 6 อัน มีก้านยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร อับเรณูจะยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ส่วนเกสรตัวเมียจะยาวประมาณ 0.3-0.7 เซนติเมตร
แยกเป็น 3 แฉก ดองดึงมีสารสำคัญต่าง ๆหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น Colchicne, Gloriosine, Superbine รวมไปถึงสารอัลคาลอยด์อื่น ๆด้วย โดยสารโคลชิซีน (Colchicne) นี้
มีสรรพคุณในการรักษาอาการปวดข้อได้เป็นอย่างดี และยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ ซึ่งสามารถนำไปรักษาโรคมะเร็งได้ และสารชนิดนี้ยังทำให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงของโครโมโซม ที่มีการนำไปใช้ผสมพันธุ์ให้กับพืช เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่