ประเพณีวัฒนธรรม

ประเพณีแห่เทียนพรรษา

ประวัติความเป็นมา ของประเพณีแห่เทียนพรรษาอำเภอโชคชัย

ประเพณีแห่เทียนพรรษาของอำเภอโชคชัย มีมูลเหตุจากที่สมัยก่อนไม่มีไฟฟ้าใช้ในวัด จึงมีการขอความอนุเคราะห์ ความร่วมมือร่วมใจและแรงศรัทธาของชาวบ้านในชุมชนคุ้มวัดต่างๆ
บริจาคขี้ผึ้งที่ได้จากการหาน้ำหวานของรวงผึ้ง โดยมีการนำมาหลอมรวมกันเป็นต้นเทียนพรรษา เพื่อใช้จุดให้แสงสว่างในการศึกษาพระธรรมวินัย และทำวัตรเย็นในอุโบสถ ระหว่างที่พระภิกษุสงฆ์จำพรรษาอยู่ที่วัดเป็นเวลา 3 เดือน เมื่อก่อนนั้นเป็นเพียงแต่การหลอมต้นเทียนในวัด แล้วชาวบ้านก็นำไปถวายแด่พระสงฆ์ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ก่อนถวายก็มีการเวียนอุโบสถเท่านั้น ต่อมาจึงมีผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่จากทางอำเภอโชคชัยจัดงานแห่เทียนขึ้น โดยให้วัดต่างๆ ส่งขบวนต้นเทียนพรรษาแห่มายังที่ทำการอำเภอ โดยงานประเพณีแห่เทียนพรรษาของอำเภอโชคชัย มีวิวัฒนาการมาไม่ต่ำกว่า 100 ปีมาแล้ว






ประเพณีการกวนข้าวทิพย์ และตักบาตรเทโววันออกพรรษา

การกวนข้าวทิพย์มีประเพณียึดมั่น มาตั้งแต่ดั้งเดิมอยู่ว่าจะต้องใช้สาวพรหมจารีเป็นผู้กวน การกวนข้าวทิพย์หรือข้าวมยุปายาส ประกอบด้วยเครื่องปรุงหลายอย่าง มีถั่ว งา นม เนย เป็นต้น
แม้แต่น้ำที่จะใช้ก็ใช้น้ำพระพุทธมนต์ ฟืนที่ใช้ติดไฟก็ต้องใช้ไม้ชัยพฤกษ์ ไม้ราชพฤกษ์ ไม้พุทรา ไม้พลู ไม้ขนุน เพื่อให้พิธีนั้นศักดิ์สิทธิ์ ส่วนที่ทำกันอยู่ในสมัยปัจจุบันนี้ จะมีสิ่งของที่ครบไม่ครบบ้างแล้วแต่ว่าบางวัดจะจัดหามาทำกันเพื่อไม่ให้ประเพณีสูญหาย จะมีน้อยบ้างมากบ้างตามกำลังและความสามารถของพุทธบริษัท ถึงกระนั้นก็เชื่อได้ว่าช่วยกันรักษาจารีตประเพณีไว้มิให้สูญหายไป




หน้าแรก